Register / Login 0 Cart

RAIMAIJON > บทความ > กากอ้อย ต่อยอดเป็นเสื้อผ้า โกอินเตอร์สู่สากล ได้อย่างไร

กากอ้อย ต่อยอดเป็นเสื้อผ้า โกอินเตอร์สู่สากล ได้อย่างไร

กากอ้อยคืออะไร!! กากอ้อยก็คือเศษของลำดับอ้อยที่เหลือจากการหีบเอาน้ำอ้อยออกจากท่อนอ้อยแล้ว เมื่อท่อนอ้อยผ่านลูกหีบชุดแรก อาจจะมีน้ำอ้อยตกค้างเหลืออยู่ยังหีบออกไม่หมด แต่พอผ่านลูกหีบชุดที่ 3-4 ก็จะมีน้ำอ้อยตกค้างอยู่น้อยมาก หรือแทบจะไม่เหลืออยู่เลย คือเหลือแต่เส้นใยล้วนๆนั้นเอง หากเราใช้อ้อยในปริมาณที่เยอะๆ ก็เท่ากับว่าเราจะมีกากของอ้อยในปริมาณที่เยอะเช่นกัน กากอ้อยที่ถูกตีว่าเป็นเศษของลำดับอ้อยที่เหลือจากการหีบ คำว่า “เศษ” มักมีจุดจบเดียวกันคือ “ถูกทิ้ง” เพราะถูกมองว่าไม่เกิดคุณค่า ไม่มีประโยชน์ที่จะเก็บไว้ได้อีกต่อไป แต่เกษตรกร จะ รู้หรือไม่ว่า หากเราตัดความคิดนี้ออกไป ก่อนจะทิ้งของเหลือ หรือเศษ อะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ ให้เรามองหาประโยชน์และคุณค่าของสิ่งนั้นก่อนทิ้ง แล้วเราจะได้ประโยชน์จากสิ่งนั้นไม่มากก็น้อยแน่นอน โดยเฉพาะ “วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร” วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในบ้านเรามีอยู่มากมายหลายประเภท และมีปริมาณมาก

 

กระจัดกระจายทั่วประเทศ วัสดุเหลือใช้บางประเภทถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์หลายด้าน รวมไปถึงกากอ้อยหรือกากชานอ้อย (Bagasse) ที่เราชาวไร่อ้อยคุ้นเคยกันดี กากอ้อย เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือสารอินทรีย์อีกประเภทหนึ่งที่มีดีกว่าการทิ้งเป็นของเหลือ เพราะกากอ้อยที่เหลือจากกระบวนการหีบอ้อยในโรงงานน้ำอ้อย ที่ปัจจุบันยังมีจำนวนอยู่พอสมควร มีราคาขายจากโรงงานตันละประมาณ 300 – 400 บาท ขึ้นอยู่กับสภาพของกากอ้อย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์หลาย ๆ ด้าน

ในปัจจุบันมีความต้องการใช้เส้นใยเซลลูโลสจากธรรมชาติในงานสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีมากขึ้น แต่ปริมาณที่มีอยู่ไม่เพียงพอ จึงได้มีการคิดค้นหาประโยชน์จากกากอ้อย หรือชานอ้อย เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับตัวของกากอ้อยเอง จนสามารถพัฒนาการผลิตเส้นใยจากชานอ้อยสำเร็จได้เป็นครั้งแรกของประเทศ ทั้งกรรมวิธีแยกเยื่อแอลฟาเซลลูโลส และกระบวนการฉีดเส้นใยเซลลูโลสประดิษฐ์ สำหรับการผลิตเยื่อเส้นใยจากชานอ้อย เริ่มจากการนำชานอ้อยมาผ่านกระบวนการระเบิดด้วยไอน้ำ เพื่อกำจัดเฮมิเซลลูโลสออก จากนั้นนำไปผ่านการต้มเยื่อด้วยสารละลายเบส เพื่อการกำจัดลิกนินออกจากเยื่อ ต่อมานำไปผ่านการฟอกขาวเยื่อ เพื่อกำจัดลิกนินที่เหลือ และลดปริมาณเถ้าในเนื้อ และเพิ่มความขาวสว่างให้กับเยื่อ ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการแยกเยื่อแอลฟาเซลลูโลสสูง ซึ่งจะเป็นส่วนวัตถุดิบต้นทางในการผลิตเป็นเส้นใย  และในตอนนี้นี้เส้นใยจากชานอ้อยได้ถูกนำไปใช้สำหรับทอตัวอย่างแล้ว ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากภาคเอกชน และก็ได้ต่อยอดเป็นเสื้อผ้า เพื่อโกอินเตอร์สู่สากลต่อไป จะเห็นว่ากากอ้อยหรือกากชานอ้อยมีประโยชน์หลายด้าน ทั้งด้านการเกษตร พลังงาน อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ดัดแปลงของผู้ใช้งาน โดยเฉพาะด้านพลังงาน ซึ่งกากชานอ้อยเป็นแหล่งพลังงานจากธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมิตรผลเชื่อว่าประเทศไทยของเรามีศักยภาพเพียงพอในการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานได้อีกมากมาย ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าให้ของเหลือใช้ และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรจากวัสดุเหลือทิ้ง นับว่าเป็นการทำของเสียไม่ให้เสียของอย่างแท้จริง

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
Cr.https://www.thairath.co.th/news/local/1204278

 

ฝากสนับสนุน สินค้าไทยดีดีอีกหนึ่งชิ้นนะคะ

website:  https://www.raimaijon.com/
Facebook: https://www.facebook.com/sugarcane.raimaijon,
Instagrams: https://www.instagram.com/canejuice_by_rmj,
Line: https://lin.ee/oRSHzQ1,

หาซื้อและดูสาขาได้ที่ http://bit.ly/2FKVLU0

ป้ายกำกับ: , , , , , , ,
COPYRIGHT © 2020 raimaijon. ALL RIGHTS RESERVED.